จะเป็นในส่วนของการ Virtual Switch Manager นะครับ
Virtual Switch Manager
ก่อนที่จะพูดถึง Virtual Switch ว่าเป็นยังไง ขออธิบายเพื่อให้เข้าใจ
หลักการทำงาน ของ Virtual Switch ก่อนนะครับว่าทำงานยังไง
ก่อนอื่นเลย ไม่ว่าจะเป็น เครื่อง Physical or Hyper-V Host เองก็แล้วแต่
ล้วนแล้วใช้ Network Interface Card (NIC) ในการเชื่อมต่อ Network
ไปยังเครื่องต่างๆ ซึ่งลักษณะการเชื่อมต่อ ก็จะเป็นแบบ
1:1 คือ 1 NIC สามารถใช้งานได้เพียง 1 IP ต่อมาเมื่อ Hyper-V Host ที่ได้ทำการ
นำ Network Interface Card มาสร้างเป็น Virtual Switch ก็จะเปลี่ยนจาก NIC เป็น
Virtual Switch (มอง NIC ภายในเครื่อง เป็นเสมือน Hub)
ซึ่งจากเดิมที่สามารถใช้ได้เพียง 1 IP ก็สามารถแยกออกมาเป็น
หลากหลาย IP ได้ในการใช้งาน เช่น
NIC
Network: 10.10.1.11/24
Virtual Switch
Network: MGMT 10.10.1.11/24
Network: LM 10.10.2.11/24
Network: HB 10.10.3.11/24
Network: CSV 10.10.4.11/24
ก็จะต้องทราบถึงลักษณะการใช้งาน ของ Virtual Switch บน Hyper-V
ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 ชนิด โดยจะขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานครับ มีดังต่อไปนี้
1. External: สามารถติดต่อได้ทั้ง Host และ Virtual Machine รวมทั้ง
สามารถติดต่อไปยัง Host และ Virtual Machine เครื่องอื่นๆ ได้ด้วย
**Network type External ส่วนใหญ่ใช้งานจริงกับ Production ที่จะต้องมี
การเชื่อมต่อไปยัง Server or Client อื่นๆ
2. Internal: Virtual Machine ติดต่อกับ Host ได้ ภายในเครื่องนั้น เครื่องเดียว
**Network type Internal ส่วนใหญ่ใช้งานจริงกับ Quality Assurance(QA) ที่จะต้องมี
ทดสอบระบบก่อนใช้งานจริง
3. Private: Virtual Machine ติดต่อกับ Virtual Machine ภายใน Host
ภายในเครื่องนั้น เครื่องเดียว
**Network type Private ส่วนใหญ่ใช้งานจริงกับ Quality Assurance(QA) ที่จะต้องมี
ทดสอบระบบก่อนใช้งานจริง
ภาพ ตัวอย่าง Hyper-V Virtual Switch Manager
จากภาพ ตัวอย่าง Hyper-V Virtual Switch Manager มี 2 NIC โดยแยกเป็น
** ขึ้นอยู่กับระบบที่มีและการ Design ของแต่ละท่าน
NIC 1 (Port 1, Port 2)
NIC 2 (Port 1, Port 2, Port 3, Port 4)
ซึ่งผมได้แยก การทำงานออกเป็น 4 ส่วนครับ
การทำงานที่จะต้องติดต่อมายัง HOST
VS_HOST [NIC_TEAMING (NIC 1_PORT 1, NIC 2_PORT 1) ]
การทำงานที่จะต้องติดต่อมายัง Virtual Machine
VS_VM [NIC_TEAMING (NIC 1_PORT 2, NIC 2_PORT 2) ]
การทำงานที่จะต้องติดต่อไปยัง Internet ภายนอก (ซึ่งผมทำมาเพื่อเป็นขา WAN Firewall)
VS_MPLS (NIC 2 PORT 3)
การทำงานที่จะต้องติดต่อไปยัง Server Backup ครับ
VS_BACKUP (NIC 2 PORT 4)
ภาพ ตัวอย่าง Hyper-V Virtual Switch Manager and Network Connections
จากภาพจะเห็นได้ว่ามี 4 Virtual Switch แต่ Network Adapter ที่มีในการใช้งานนั้นเกิน
จำนวน Virtual Switch ที่มีอยู่ เกิดมาจากการ Add Network Adapter เพิ่ม นั่นเอง ครับ
ส่วนวิธีาร Add Network Adapter เพิ่มจะอยู่ที่รูปภาพ ด้านล่างครับ
ในภาพ ก็จะเห็นเพิ่มเติมประมาณ 3 อย่างมีดังต่อไปนี้ครับ
Allow management operating system to share this network adapter คือ
Virtual Switch and Network Adapter นี้ต้องการให้สามารถจัดการได้หรือไม่
จัดการในที่นี้หมายถึงการ Set IP, Subnet, Gateway, DNS, VLAN นั่นเองครับ
SR-IOV คือ Virtual Machine นั้น จะต้องมีการใช้ Network ซึ่งก็มาจาก
Network Adapter ของ Host ซึ่งก็ต้องมีการติดต่อมายัง Host ก่อนที่จะติดต่อ
ไปยัง Virtual Machine แต่เมื่อได้ทำการ Enable SR-IOV นั้น
Network Adapter จากเดิมที่จะต้องติดต่อมายัง Host ก่อนนั้น จะเปลี่ยนเป็น
ติดต่อตรงไปยัง Virtual Machine เลย
VLAN ID คือ สามารถ Enable แล้วกำหนด VLAN ให้กับ Virtual Switch นั้นๆได้
ภาพ ตัวอย่าง Hyper-V ในการ Add Network Adapter
Configuration Microsoft Visualization (Hyper-V) ตอน 3
จะเป็นการ Configuration Hyper-V ในส่วนของ Virtual Machine กันนะครับ
ซึ่งตอน 1 และ ตอน 2 จะเป็นการ Configuration ในระดับ Hyper-V Host
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น