วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2559

Configuration Microsoft Visualization ตอน 3

Configuration Microsoft Visualization (Hyper-V on Windows Server 2012 R2)

จะเป็นในส่วนของวิธีในการสร้าง Virtual Machine นะครับ

          วิธีการสร้าง Virtual Machine บน Hyper-V ที่อยู่บน Windows Server 2012 R2

สามารถทำได้ 2 วิธี (ในที่นี้ผมขอเอาแค่วิธีที่เป็นการสร้าง ด้วย GUI นะครับ)

          1. ที่แถบ Hyper-V Manager --> คลิกขวา New --> Virtual Machine



          2. ที่แถบ Actions --> คลิกที่ New --> Virtual Machine


ตอน2                                                                                             ตอน4

วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

Configuration Microsoft Visualization ตอน 2

Configuration Microsoft Visualization (Hyper-V on Windows Server 2012 R2)


จะเป็นในส่วนของการ Virtual Switch Manager นะครับ


Virtual Switch Manager

           ก่อนที่จะพูดถึง Virtual Switch ว่าเป็นยังไง ขออธิบายเพื่อให้เข้าใจ

หลักการทำงาน ของ Virtual Switch ก่อนนะครับว่าทำงานยังไง

ก่อนอื่นเลย ไม่ว่าจะเป็น เครื่อง Physical or Hyper-V Host เองก็แล้วแต่

ล้วนแล้วใช้ Network Interface Card (NIC) ในการเชื่อมต่อ Network

ไปยังเครื่องต่างๆ ซึ่งลักษณะการเชื่อมต่อ ก็จะเป็นแบบ

1:1 คือ 1 NIC สามารถใช้งานได้เพียง 1 IP ต่อมาเมื่อ Hyper-V Host ที่ได้ทำการ

นำ Network Interface Card มาสร้างเป็น Virtual Switch ก็จะเปลี่ยนจาก NIC เป็น

Virtual Switch (มอง NIC ภายในเครื่อง เป็นเสมือน Hub)

ซึ่งจากเดิมที่สามารถใช้ได้เพียง 1 IP ก็สามารถแยกออกมาเป็น

หลากหลาย IP ได้ในการใช้งาน เช่น

NIC 

Network: 10.10.1.11/24

Virtual Switch 

Network: MGMT  10.10.1.11/24

Network: LM        10.10.2.11/24

Network: HB         10.10.3.11/24

Network: CSV       10.10.4.11/24

           เมื่อทราบหลักการทำงาน คร่าวๆของ Virtual Switch บน Hyper-V

ก็จะต้องทราบถึงลักษณะการใช้งาน ของ Virtual Switch บน Hyper-V

ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 ชนิด โดยจะขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานครับ มีดังต่อไปนี้

          1. External: สามารถติดต่อได้ทั้ง Host และ Virtual Machine รวมทั้ง

สามารถติดต่อไปยัง Host และ Virtual Machine เครื่องอื่นๆ ได้ด้วย

**Network type External ส่วนใหญ่ใช้งานจริงกับ Production ที่จะต้องมี

การเชื่อมต่อไปยัง Server or Client อื่นๆ

          2. Internal: Virtual Machine ติดต่อกับ Host ได้ ภายในเครื่องนั้น เครื่องเดียว

**Network type Internal ส่วนใหญ่ใช้งานจริงกับ Quality Assurance(QA) ที่จะต้องมี

ทดสอบระบบก่อนใช้งานจริง

          3. Private: Virtual Machine ติดต่อกับ Virtual Machine ภายใน Host

ภายในเครื่องนั้น เครื่องเดียว

**Network type Private ส่วนใหญ่ใช้งานจริงกับ Quality Assurance(QA) ที่จะต้องมี

ทดสอบระบบก่อนใช้งานจริง



ภาพ ตัวอย่าง Hyper-V Virtual Switch Manager

          จากภาพ ตัวอย่าง Hyper-V Virtual Switch Manager มี 2 NIC โดยแยกเป็น 

** ขึ้นอยู่กับระบบที่มีและการ Design ของแต่ละท่าน

NIC 1 (Port 1, Port 2)

NIC 2 (Port 1, Port 2, Port 3, Port 4)

ซึ่งผมได้แยก การทำงานออกเป็น 4 ส่วนครับ

การทำงานที่จะต้องติดต่อมายัง HOST 
VS_HOST [NIC_TEAMING (NIC 1_PORT 1, NIC 2_PORT 1) ]

การทำงานที่จะต้องติดต่อมายัง Virtual Machine
VS_VM [NIC_TEAMING (NIC 1_PORT 2, NIC 2_PORT 2) ]

การทำงานที่จะต้องติดต่อไปยัง Internet ภายนอก (ซึ่งผมทำมาเพื่อเป็นขา WAN Firewall)
VS_MPLS (NIC 2 PORT 3)

การทำงานที่จะต้องติดต่อไปยัง Server Backup ครับ
VS_BACKUP (NIC 2 PORT 4)


ภาพ ตัวอย่าง Hyper-V Virtual Switch Manager and Network Connections

          จากภาพจะเห็นได้ว่ามี 4 Virtual Switch แต่ Network Adapter ที่มีในการใช้งานนั้นเกิน

จำนวน Virtual Switch ที่มีอยู่ เกิดมาจากการ Add Network Adapter เพิ่ม นั่นเอง ครับ

ส่วนวิธีาร Add Network Adapter เพิ่มจะอยู่ที่รูปภาพ ด้านล่างครับ

          ในภาพ ก็จะเห็นเพิ่มเติมประมาณ 3 อย่างมีดังต่อไปนี้ครับ

Allow management operating system to share this network adapter คือ

Virtual Switch and Network Adapter นี้ต้องการให้สามารถจัดการได้หรือไม่

จัดการในที่นี้หมายถึงการ Set IP, Subnet, Gateway, DNS, VLAN นั่นเองครับ

SR-IOV คือ Virtual Machine นั้น จะต้องมีการใช้ Network ซึ่งก็มาจาก

Network Adapter ของ Host ซึ่งก็ต้องมีการติดต่อมายัง Host ก่อนที่จะติดต่อ

ไปยัง Virtual Machine แต่เมื่อได้ทำการ Enable SR-IOV นั้น

Network Adapter จากเดิมที่จะต้องติดต่อมายัง Host ก่อนนั้น จะเปลี่ยนเป็น

ติดต่อตรงไปยัง Virtual Machine เลย

VLAN ID คือ สามารถ Enable แล้วกำหนด VLAN ให้กับ Virtual Switch นั้นๆได้


ภาพ ตัวอย่าง Hyper-V ในการ Add Network Adapter


Configuration Microsoft Visualization (Hyper-V) ตอน 3

จะเป็นการ Configuration Hyper-V ในส่วนของ Virtual Machine กันนะครับ

ซึ่งตอน 1 และ ตอน 2 จะเป็นการ Configuration ในระดับ Hyper-V Host

ตอน 1                                                                            ตอน 3

Configuration Microsoft Visualization ตอน 1

Configuration Microsoft Visualization (Hyper-V on Windows Server 2012 R2)

จะเป็นในส่วนของการ Hyper-Setting นะครับ


          ในการ Configuration Hyper-V สำหรับใช้งาน ในหน้า Hyper-V Manager

ก็จะมี 3 ส่วนหลักๆ ในการใช้งานนะครับ

          - Manage Hyper-V (Host)

          - Manage Virtual Machine (Guest)

          - Actions (Hyper-V Host and Virtual Machine)


ภาพ Hyper-V Manager

          เริ่มแรกเลยนะครับ ก็จะทำการ Configuration ในส่วนของ Hyper-V Host

หลักๆในการ Configuration Hyper-V Host ด้วยกันอยู่ 2 ส่วน คือ

          1. Hyper-V Setting ก็จะเป็นการ Setting ค่าต่างๆของ Hyper-V Host

          2. Virtual Switch Manager ก็จะเป็นการ Setting ค่า Network สำหรับใช้งาน


Hyper-V Setting

          หลักๆในการ Configuration Hyper-V Setting ก็จะเป็นในส่วนของ

File Config Virtual Machine and File Virtual Hard Disk 

ในที่นี้พูดถึงเรื่องการ Config ไว้สำหรับใช้งานนะครับ 


ภาพ (ตัวอย่าง)ที่เก็บไฟล์ Virtual Hard Disk


ภาพ (ตัวอย่าง)ที่เก็บไฟล์ Config Virtual Machine

          * เพิ่มเติมในส่วนของ Enhanced Session Mode Policy ครับ คือ

โดยปรกติ จะไม่ได้ถูก Enable ไว้อยู่ จะเป็นการใช้งาน devices และ

resource จาก Hyper-V Host ไปยัง Virtual Machine ได้ครับ เช่น 

Copy File จาก Hyper-V Host ไปยัง Virtual Machine 
                    

ภาพ การเปิด Enhanced Session Mode ใช้งาน

          ** เพิ่มเติม ใน Hyper-V ยังสามารถทำ DR-Site ได้ด้วยครับ ในที่นี้จะเรียก

ว่าเป็นการทำ Replication ใน Hyper-V โดยในการทำงานของ Hyper-V Replication

จะไม่สนใจ Host ปลายทางว่าต้องมี Spec เครื่องแบบเดียวกัน แต่จะคำนึงถึงแค่

Resource ที่จะต้องพอสำหรับในการใช้งาน ซึ่ง Replication นั้นจะใช้งานด้วย

Port 80 or 443 ในการส่งไปยัง Hyper-V Host ปลายทาง ในที่นี้ขอ ละ ไว้ก่อนนะครับ

จะพูดถึง Hyper-V Replication ในบทความหน้า


ภาพ Hyper-V Replication Configuration

Virtual Switch Manager จะอยู่ในบทความ 

Configuration Microsoft Visualization (Hyper-V) ตอน 2 ครับ

ตอน2

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2559

Installation Microsoft Visualization (Hyper-V)

Microsoft Visualization

          Microsoft Visualization (Hyper-V) มีวิธีการในการติดตั้งและใช้งานอยู่ด้วยกัน

ทั้งหมด 3 วิธี

          1. Enable Role Hyper-V จาก Windows Server 2008 - Windows Server 2016



          2. Enable Feature Hyper-V จาก Windows 7 - Windows 10



          3. Download ISO File Hyper-V Server จะเป็น Server ที่ติดตั้ง Role Hyper-V

มาให้เรียบร้อยแล้วครับ

https://www.microsoft.com/en-us/evalcenter/evaluate-hyper-v-server-2012-r2




          เมื่อได้ทำการติดตั้ง Hyper-V เรียบร้อยแล้ว ให้มาที่ Hyper-V Manager ครับ

เพื่อที่จะใช้งานในส่วนของ Hyper-V




ต่อไปจะเป็นในส่วนการ Configuration Hyper-V


วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2559

Overview System Center Virtual Machine Manager

          วันนี้จะมาพูดถึง Product Microsoft ในชุดของ System Center นะครับ

โดยจะหยิบยก Product ที่ชื่อว่า System Center Virtual Machine Manager

System Center Virtual Machine Manager หรือ อีกชื่อที่เรียกว่า SCVMM

ในที่นี้ผมของเรียก สั้นๆว่า SCVMM นะครับ

          ซึ่ง SCVMM นั้นมีไว้เพื่อสำหรับ Manage Private Cloud โดยตัว SCVMM สามารถทำได้

มีดังต่อไปนี้ครับ

          - SCVMM สามารถ Management Hyper-visors ต่างๆ ได้แก่ Hyper-V (Microsoft),

VCenter (VMWare), Citrix XenServer ได้

          - SCVMM สามารถกำหนด Resource (CPU, Memory, Hard disk, Network) ได้ว่าต้องการให้ใครใช้ Resource อะไร เท่าไรบ้าง

          - SCVMM สามารถแบ่ง Permission ได้ว่าต้องการให้ใครทำอะไร ไม่ว่าจะเป็น Host หรือ Cloud

          - SCVMM สามารถ Deploy VM ได้ ไม่ว่าจะเป็น Deploy ไปยัง Host or Cloud




จากภาพจะเป็น หน้าต่าง Host and Cloud ที่ ผู้ใช้งาน คนนี้สามารถดูแลได้นะครับ



จากภาพจะเป็นหน้า User Profile ที่สามารถกำหนด Role ของ User or Group ในการใช้งาน



จากภาพเป็นหน้าตา Template Guest OS Profile ที่ใช้ในการ Deploy


จากภาพเป็นหน้าตา ของ Tier Storage สำหรับใช้งาน


จากภาพเป็นหน้าตา Logical Network สำหรับใช้งาน


วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559

Install Cacti On CentOS 6.5

Install Wget
yum install wget -y

Install required packages
wget http://dl.fedoraproject.org/pub/epel/6/i386/epel-release-6-8.noarch.rpm
rpm -ivh epel-release-6-8.noarch.rpm

Install Apache
yum install httpd httpd-devel -y

Install MySQL
yum install mysql mysql-server -y

Install PHP
yum install php-mysql php-pear php-common php-gd php-devel php php-mbstring php-cli php-mysql -y 

Install PHP-SNMP
yum install php-snmp -y

Install NET-SNMP
yum install net-snmp-utils net-snmp-libs php-pear-Net-SMTP -y

Install RRDtool
yum install rrdtool -y


/etc/init.d/httpd start
/etc/init.d/mysqld start
/etc/init.d/snmpd start


chkconfig httpd on
chkconfig mysqld on
chkconfig snmpd on


Installing Cacti Tool
yum install cacti -y


Configure MySQL
mysql -u root -p
mysql> create database cacti;
mysql> GRANT ALL ON cacti.* TO cacti@localhost IDENTIFIED BY 'centos';
mysql> flush privileges;
mysql> exit




rpm -ql cacti | grep cacti.sql
/usr/share/doc/cacti-0.8.8b/cacti.sql


mysql -u cacti -p cacti < /usr/share/doc/cacti-0.8.8b/cacti.sql



vi /etc/cacti/db.php
$database_type = "mysql";
$database_default = "cacti"; ## Name of the Cacti Database ## 
$database_hostname = "localhost";
$database_username = "cacti"; ## Username for Cacti database ##
$database_password = "centos"; ## Database password ##$database_port = "3306";
$database_ssl = false;
:wq


Configure Apache server
vi /etc/httpd/conf.d/cacti.conf


<Directory /usr/share/cacti/>         
<IfModule mod_authz_core.c>                 
# httpd 2.4                 
Require host localhost     
    </IfModule>      
   <IfModule !mod_authz_core.c>         
        # httpd 2.2     
            Order deny,allow   
              Deny from all    
             Allow from 192.168.1.0/24   
      </IfModule> </Directory>

/etc/init.d/httpd restart

vi /etc/sysconfig/iptables
# Firewall configuration written by system-config-firewall 
# Manual customization of this file is not recommended. 
*filter 
:INPUT ACCEPT [0:0] 
:FORWARD ACCEPT [0:0] 
:OUTPUT ACCEPT [0:0] 
-A INPUT -p udp -m state --state NEW --dport 80 -j ACCEPT 
-A INPUT -p tcp -m state --state NEW --dport 80 -j ACCEPT 
-A INPUT -p udp -m state --state NEW --dport 53 -j ACCEPT 
-A INPUT -p tcp -m state --state NEW --dport 53 -j ACCEPT 
-A INPUT -m state --state ESTABLISHED,RELATED -j ACCEPT
-A INPUT -p icmp -j ACCEPT
-A INPUT -i lo -j ACCEPT 
-A INPUT -m state --state NEW -m tcp -p tcp --dport 22 -j ACCEPT 
-A INPUT -j REJECT --reject-with icmp-host-prohibited
-A FORWARD -j REJECT --reject-with icmp-host-prohibited COMMIT

/etc/init.d/iptables restart

vi /etc/cron.d/cacti

*/5 * * * *     cacti   /usr/bin/php /usr/share/cacti/poller.php > /dev/null 2>&1


Run Cacti installer
http://ip-address/cacti

Ex. http://localhost/cacti

Open Snmp Switch Cisco

Router>enable 
Password: 
Router#
Router#configure terminal 
Enter configuration commands, one per line.  End 
with CNTL/Z. 
Router(config)#
Router(config)#snmp-server community Private RW
Router(config)#exit 
Router#
Router#write memory 
Building configuration... 
[OK] 
Router#

What is Cloud ?

          ก่อนที่จะเข้าในส่วนของ Cloud กันนั้น ระบบ Data Center ที่ใช้งานอยู่ในแต่ละองค์กร

โดยที่แต่ละยุค แต่ละสมัย ระบบ Data Center ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปครับ โดยมีด้วยกัน

ดังนี้ครับ

          1. Data Center ยุคแรก คือการที่ใช้งาน Server อยู่ในรูปแบบของ Physical

          2. Data Center ยุคสอง คือการที่ใช้งาน Server ใน Technology ของ Virtual Machine

          3. Data Center ยุคสาม คือการที่ใช้งาน Server ใน Technology ของ Cloud

          ณ ปัจจุบันส่วนใหญ่นั้น คนเรามักจะมองข้ามไปว่า เราต้องการทำ Private Cloud บ้าง

ต้องการทำPublic Cloud บ้าง หรือต้องการทำ Hybrid Cloud บ้างแต่ ก่อนที่เราจะบอกว่า

เราต้องการทำชุด Deployment Cloud Service (Private Cloud, Hybrid Cloud, Public Cloud)

อะไรเรานั้นต้องรู้ก่อนว่าจะใช้ Cloud Service อะไร และค่อยมาเลือกว่าจะใช้

Deployment Cloud Service อะไรและควรจะใช้ Product ไหนมาทำ Cloud กันดี

          Cloud Essential Characteristics นิยามของ Cloud นั้น มีด้วยกันทั้งหมดอยู่ 5 อย่าง

ซึ่งถ้าขาด อย่างใด อย่างหนึ่งไปก็จะไม่ได้เรียกว่า เป็น Cloud ซึ่งถ้าขาดอย่างใดไปและบอกว่า

เป็น Solution Cloud ที่ขายๆกัน ก็บอกกับได้เลยนะครับว่า นี่ไม่ใช่ Cloud แน่นอน ซึ่งนิยามของ

Cloud นั้นมาจาก หน่วยงาน National Institute of Standards and Technology (NIST)

เป็นหน่วยงานกลางในการจัดการเรื่องของ Cloud ซึ่งได้นิยามไว้ดังต่อไปนี้

          1. Resource Pooling/Multi-Tenancy คือการนำ Resource ต่างๆมา Pool รวมกัน

เพื่อให้บริการกับผู้ใช้งานได้หลากหลาย โดยข้อมูลของผู้ใช้บริการแต่ละรายจะไม่ข้อง

เกี่ยวกัน เช่น ทำ Resource Pool (Disk 1 TB) สามารถแบ่งการใช้งานให้กับผู้ใช้บริการ A

และ ผู้ใช้บริการ B ได้ โดยที่ผู้ใช้บริการ A และ ผู้ใช้บริการ B จะเห็นแค่ข้อมูลของ

ผู้ใช้บริการนั้นๆเอง และไม่สามารถเห็นข้อมูลของผู้ใช้บริการรายอื่นๆ ที่ไม่ใช่ของตน

          2. On-demand & Self-Service คือ ผู้ใช้บริการสามารถจัดการได้ด้วยตัวของผู้ใช้บริการเอง

โดยไม่จำเป็นจะต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้ให้บริการ เช่น ผู้ใช้บริการต้องการสร้าง

Virtual Machine ขึ้นมานั้น ผู้ใช้บริการก็สามารถสร้างได้เอง จาก Template และ Resource

ที่มีในการใช้งาน

          3. Rapid Elasticity คือ รองรับการร้องขอการใช้งานได้ตามความต้องการ หรือเรียกง่ายๆว่า

ต้องมีความยืดหยุ่นต่อการใช้งาน เช่น ผู้ใช้งานสามารถสร้าง Virtual Machine เพิ่มขึ้น

แบบเดียวกับ Virtual Machine เดิมที่ทำงานอยู่ได้ทันที เพื่อรองรับโหลดที่เพิ่มขึ้น

และเมื่อโหลดลดลงไปก็สามารถลดจำนวนปรับจำนวน Resource หรือ ลด Virtual Machine

ได้ทันทีเช่นกัน

          4. Measured Service คือ สามารถระบุปริมาณการใช้งานที่แน่นอนได้ รวมไปถึงสามารถ

ติดตามและควบคุมการใช้งานได้ด้วยเช่นกัน เช่น เมื่อผู้ให้บริการได้ให้บริการ Resource

ต่างๆให้กับผู้ใช้งานแล้วจะต้องมีทำการเก็บข้อมูลการใช้งาน Resource ต่างๆของลูกค้าด้วย

เพื่อนำไปจัดทำรายงานและเก็บค่าบริการกับผู้ใช้งาน (Charge Back)

          5. Broad Network Access คือ สามารถใช้งาน จากที่ไหนก็ได้ และหลากหลาย Device

ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน เช่น ผู้ใช้งานสามารถจัดการ Resource บน Cloud ผ่าน Device

ที่เป็น Mobile Device ได้ โดยไม่จำเป็นจะต้องใช้เพียงแค่ PC or Notebook เท่านั้น

รวมไปถึงอยู่ที่ไหนก็สามารถจัดการ Cloud ได้โดยไม่จำเป็นจะต้อง อยู่แค่ที่ Office

ในการจัดการ และใช้งาน

          ต่อมาก็จะพูดถึง Cloud Service นะครับ

          Cloud Service

          1. IaaS: Infrastructure As A Service เป็นการที่ผู้ให้บริการดูแลระบบโครงสร้าง

พื้นฐานต่างๆ โดยผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์เอง อีกทั้งไม่จำเป็นต้อง

จ้างคนมาดูแลรักษาระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ในส่วนของผู้ใช้บริการจะดูแลในส่วนของ

Virtual Machine, Operating System รวมไปถึง Application และข้อมูลต่างๆ

ที่ต้องการใช้งาน

          * ถ้าผู้ใช้งานเลือกใช้งาน Cloud Service: Infrastructure As A Service(IaaS)

ก็สามารถเลือกชุด Deployment Cloud Service Private Cloud และ Public Cloud

          2. PaaS: Platform As A Service เป็นการที่ผู้ให้บริการดูแลในส่วน Platform

ต่างๆ ที่จำเป็นในการพัฒนา Software และ Application ไว้ให้ เพื่อให้ผู้ใช้งาน

ได้ใช้ในการสร้างและพัฒนา Software และ Application ต่างๆ

          * ถ้าผู้ใช้งานเลือกใช้งาน Cloud Service: Platform As A Service(PaaS)

ก็สามารถเลือกชุด Deployment Cloud Service Public Cloud
       
          3. SaaS: Software As A Service คือการให้บริการ Application ต่างๆ บน

Cloud โดยที่ผู้ใช้งานดูแลแค่ในส่วนการใช้งาน และข้อมูลที่ใช้งาน

อาทิเช่น Office365, Exchange Online 

          * ถ้าผู้ใช้งานเลือกใช้งาน Cloud Service: Software As A Service(SaaS)

ก็สามารถเลือกชุด Deployment Cloud Service Public Cloud



       

          Deployment Cloud Service 

          1. Private Cloud: Cloud ที่เป็นส่วนตัว กล่าวคือผู้ใช้บริการ

ขององค์กรนั้นๆเท่านั้น ที่สามารถดูแล และจัดการ ไม่ว่าจะเป็น Resource

รวมไปถึงการแบ่งสิทธิ์การดูแล และจัดการ Resource ต่างๆ โดย

สามารถทำ Private Cloud โดยใช้ Data Center ภายในองค์กร

หรือ จะเช่า Data Center จากผู้ให้บริการภายนอกก็ได้

          2. Hybrid Cloud: Cloud ที่ผสมผสานระหว่าง Private Cloud และ Public Cloud

          3. Public Cloud: Cloud สาธารณะ กล่าวคือ Cloud ที่สร้างขึ้นมาเพื่อ

ให้ผู้ใช้งานทุกคน สามารถเข้าใช้งานได้ เช่น Office365, Google App เป็นต้น